วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ระบบควบคุมภายใน

1. ความสำคัญ
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544   มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22  ตุลาคม  2544  เป็นต้นมา  อันมีผลทำให้หน่วยรับตรวจต้องจัดวางระบบการควบคุมภายใน โดยใช้มาตรฐานการควบคุมภายในตามระเบียบดังกล่าว ข้อ 5  เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าการบริหารและการปฏิบัติงานของหน่วยงานจะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   รวมถึงการดูแลทรัพย์สิน   การป้องกัน   หรือลดความผิดพลาด    ความเสียหาย   การรั่วไหล   การสิ้นเปลือง  หรือการทุจริตในหน่วยงาน   และภายหลังการจัดวางระบบการควบคุมภายในแล้วเสร็จ  ก็จะต้องรายงานประจำปีเกี่ยวกับการควบคุมภายในต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน   ผู้กำกับดูแล  และคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการควบคุมภายใน  โดยรายงานปีละ 1 ครั้ง   ภายในเก้าสิบวันนับจากวันสิ้นปีงบประมาณหรือ
ปีปฏิทินแล้วแต่กรณี  ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามระเบียบ ฯ ข้อ  6
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้กำหนดแนวทาง : การจัดวางระบบควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน ตามระเบียบ ฯ  ดังกล่าวขึ้นใหม่    โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาการจัดวางระบบควบคุมภายในและ
การประเมินผลการควบคุมภายในบางส่วน รวมทั้งปรับลดแบบฟอร์มและรูปแบบการจัดทำรายงาน  เพื่อใช้แทนคำแนะนำ : การจัดทำรายงานการควบคุมภายใน  ตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน  ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544  ฉบับเดิม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34      จึงได้จัดทำคู่มือการจัดทำรายงานตามระเบียบ
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามระเบียบว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน  เป็นคู่มือให้โรงเรียนในสังกัดทุกโรงเรียน  และกลุ่มภารกิจทุกกลุ่มในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34 ปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยเฉพาะในระดับผู้บริหารของหน่วยงานจะสามารถเข้าไปศึกษาในรายละเอียดและดำเนินการจัดทำรายงานการควบคุมภายใน  ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด        
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้บริหาร และผู้รับผิดชอบการดำเนินงานตามระเบียบว่าด้วยมาตรฐานการควบคุมภายใน
มีความรู้   ความเข้าใจ   เกี่ยวกับการจัดทำรายงานตามระเบียบ ฯ  ข้อ  6
2.2  เพื่อให้การจัดทำรายงานตามระเบียบ  ฯ   ข้อ   6    ของหน่วยงานรับตรวจหรือส่วนงานย่อย
มีความถูกต้อง   รวดเร็ว   เป็นไปตามที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
2.3  เพื่อให้การจัดทำรายงานของหน่วยรับตรวจ   หรือส่วนงานย่อย   เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 
3. นิยามศัพท์
การควบคุมภายใน  หมายความว่า กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับ ดูแล ฝ่ายบริหาร และบุคลากรของหน่วยรับตรวจจัดให้มีขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า การดำเนินงานของหน่วยรับตรวจจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายใน 3 ด้าน คือ ด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพของหน่วยงาน ซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริตในหน่วยงานรับตรวจ ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานการเงิน  และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย   ระเบียบ   ข้อบังคับ   และมติคณะรัฐมนตรี
ผู้กำกับการดูแล  หมายความว่า  บุคคลหรือคณะบุคคลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแล หรือบังคับบัญชาผู้รับตรวจหรือหน่วยรับตรวจ
ผู้รับตรวจ  หมายความว่า  หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้บริหารองค์กร ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ หรือการบริหารของหน่วยรับตรวจ
หน่วยรับตรวจ  หมายความว่า
(1) กระทรวง   ทบวง   กรม    และส่วนราชการที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่มีฐานะเป็น
กระทรวง   ทบวง  หรือกรม
(2) หน่วยงานของราชการส่วนภูมิภาค
(3) หน่วยงานของราชการส่วนท้องถิ่น
(4) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือตามกฎหมายอื่น
(5) หน่วยงานอื่นของรัฐ
(6) หน่วยงานที่ได้รับเงินอุดหนุน หรือกิจการที่ได้รับเงินหรือทรัพย์สินลงทุนจากหน่วย
รับตรวจตาม  (1)  (2)  (3)  (4) หรือ  (5)
(7) หน่วยงานอื่นใดหรือกิจการที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐที่มีกฎหมายกำหนดให้สำนักงาน
ตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบ
ฝ่ายบริหาร  หมายความว่า  ผู้รับตรวจ หรือผู้บริหารทุกระดับของหน่วยงานรับตรวจ
ผู้ตรวจสอบภายใน  หมายความว่า  ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในของหน่วยงานรับตรวจ หรือดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในของหน่วยงานรับตรวจ   หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับ
ผู้ตรวจสอบภายใน
ระดับส่วนงานย่อย     หมายความว่า    หน่วยงานที่เป็นสาขาย่อยของระดับหน่วยรับตรวจ   เช่น
ระดับหน่วยรับตรวจ คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ฉะนั้นระดับส่วนงานย่อย คือกลุ่มต่าง ๆ
ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา   และงานต่าง ๆ  ในสถานศึกษา


Comment