ระเบียบโรงเรียนชุมชนบึงบา
ว่าด้วยคณะกรรมการนักเรียนและสภานักเรียน
ด้วยโรงเรียนชุมชนบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เห็นสมควรที่จะกำหนดระเบียบของโรงเรียนว่าด้วยคณะกรรมการนักเรียนและสภานักเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและโครงสร้างการบริหารของโรงเรียน และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน อย่างเป็นรูปธรรมและถูกต้อง จึงได้กำหนดระเบียบว่าด้วยคณะกรรมการนักเรียนและสภานักเรียน ไว้ดังต่อไปนี้
หมวด ๑
หมวดทั่วไป
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสภานักเรียน โรงเรียนชุมชนบึงบา พุทธศักราช ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ระเบียบฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“สภานักเรียน” หมายถึง สภานักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา ประกอบด้วยประธานนักเรียนรองประธานคณะกรรมการนักเรียนที่ได้รับเลือกตั้งจากนักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา ในปีการศึกษานั้นๆ และหัวหน้าห้องในทุกระดับชั้นซึ่งเป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่ง
“คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา
“คณะกรรมการที่ปรึกษา” หมายถึง ผู้บริหารโรงเรียน คณะครูที่ได้รับการแต่งตั้ง เพื่อทำหน้าที่ที่ปรึกษาแก่คณะกรรมการสภานักเรียน
“ประธาน” หมายถึง ประธานคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา
“รองประธาน” หมายถึง รองประธานคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา
“คณะอนุกรรมการ” หมายถึง คณะอนุกรรมการสภานักเรียนที่ได้รับเลือกตั้งจากนักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา หัวหน้าห้อง ในทุกระดับชั้น
ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ของสภานักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา มีดังนี้
(๑) เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีระเบียบวินัยในตนเอง
(๒) เพื่อฝึกลักษณะนิสัยที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคมตามวิถีประชาธิปไตย
(๓) เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีระบบ โดยรู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเอง มีความ รับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
(๔) เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียน และมีความสามัคคีต่อหมู่คณะ
(๕) เพื่อฝึกการเป็นผู้นำ และส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
(๖) เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือการบริหารงานด้านต่างๆของโรงเรียน
หมวด ๒
การเลือกตั้งประธานคณะกรรมการนักเรียน
ข้อ ๕ ให้ครูผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน เป็นผู้ดำเนินการเลือกตั้ง รับสมัคร หาเสียงเลือกตั้ง กำหนดวันเลือกตั้ง ประกาศผลการเลือกตั้ง และดำเนินการทุกเรื่องที่เกี่ยวกับคณะกรรมการนักเรียน
ข้อ ๖ คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเป็นประธานและคณะกรรมการนักเรียน
(1) เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ – ๖
(2) มีระดับผลการเรียนไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕ (ดูจากใบปพ.๑)
(3) เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่มีประวัติการสร้างความเสื่อมเสียให้กับโรงเรียน
(4) ขยัน อดทน เสียสละ และมีภาวะผู้นำ สามารถทำงานเพื่อส่วนรวมได้
(5) รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ข้อ ๗ ประธานนักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน มีวาระอยู่ได้คราวละ 1 ปีการศึกษา
ข้อ ๘ ประธานนักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ออกตามวาระ
(4) ไร้ความสามารถ
(5) ย้ายโรงเรียน
หมวด ๓
การประชุม
ข้อ ๙ ประธานสภานักเรียนต้องเรียกประชุมสภานักเรียนอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งเว้นแต่มีกรณีเร่งด่วน ประธานสภานักเรียนอาจเรียกประชุมมากกว่าหนึ่งครั้งก็ได้ โดยมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงถือว่าเป็นองค์ประชุม
ข้อ ๑o การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ข้อ ๑๑ การลงมติใด ๆ ต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการในที่ประชุม
ข้อ ๑๒ การลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในญัตติใดในการประชุมของสภานักเรียน ให้ผู้ประชุมมีมติโดยที่ มตินั้นต้องมีผู้รับรองเป็นจำนวน ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกในที่ประชุมครั้งนั้น
ข้อ ๑๓ ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อ ๑๔ ให้ประธานสภานักเรียนเป็นประธานในการประชุมสภานักเรียน หากประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือไม่อยู่ในที่ประชุม ให้รองประธานสภาตามที่ประธานสภามอบหมายทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมแทน
ข้อ ๑๕ การออกเสียงลงคะแนนให้ใช้แบบเปิดเผยเว้นแต่สมาชิกไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในที่ประชุมร้องขอให้ลงคะแนนแบบลับ
ข้อ ๑๖ การใช้อำนาจวินิจฉัยเรื่องใดของประธานสภานักเรียน ให้นำเรื่องนั้น เข้าไว้ในวาระการประชุม เพื่อขอมติจากที่ประชุมว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ หากที่ประชุมไม่อาจลงมติตัดสินได้ ให้ประธานสภาเป็นผู้ชี้ขาด และการชี้ขาดนั้นถือเป็นสิ้นสุด หากเป็นกรณีเร่งด่วนให้ประธานสภาวินิจฉัยไปตามดุลพินิจของประธานสภาแล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับรองภายหลัง
หมวด ๔
บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสภานักเรียน
ข้อ ๑๗ บทบาทของสภานักเรียน
(๑) เป็นผู้นำในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อส่วนรวมตามหลักธรรมาภิบาล
(๒) ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของตนเองและเพื่อนนักเรียน โดยใช้กระบวนการประชาธิปไตย และแนวทางสันติวิธี
(๓) ชักชวนนักเรียนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
(๔) สืบสานความรู้ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชาติ
(๓) เป็นผู้นำเพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคม
ข้อ ๑๘ หน้าที่ของสภานักเรียน
(๑) ดูแลทุกข์ สุข ของนักเรียน และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน
(๒) ประสานกับบุคลากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์และความก้าวหน้าที่นักเรียนควรได้รับ
(๓) รับผิดชอบงานและกิจกรรมต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียน
(๔) คิดริเริ่มโครงการที่เป็นประโยชน์ สามารถปฏิบัติได้จริงและส่งผลต่อการพัฒนาโรงเรียน
(๕) ดูแลสอดส่องและจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในโรงเรียนอย่างคุ้มค่า
(๖) ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทันต่อเหตุการณ์และตรงไปตรงมา
ข้อ ๑๙ บทบาทหน้าที่ของประธานนักเรียน
(1) จัดให้มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
(2) ตรวจดูการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย
(3) เสนอและสรุปรายงานข้อมูลต่างๆ ที่ได้ปฏิบัติในรอบเดือน ให้ผู้บริหาร
และคณะครูในโรงเรียน รับทราบ
(4) เป็นผู้ประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ
(5) กล่าวต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมโรงเรียน และกล่าวขอบคุณผู้ที่มีอุปการะคุณต่อ
โรงเรียน
(6) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียนและสร้างความสามัคคีให้เกิด
ขึ้นในระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน
(7) ร่วมกับคณะกรรมการสภานักนักเรียนทุกคน พิจารณาโทษ นักเรียนที่กระทำ
ผิดกฎ ระเบียบของโรงเรียน
(8) ปฏิบัติงานตามที่ผู้บริหารและครูมอบหมาย
ข้อ ๒๐ ให้มีกรรมการนักเรียนเพื่อดำเนินกิจกรรมของสภานักเรียนขึ้น ๑ ชุด
ประกอบด้วยสมาชิก
๒๐.๑ ประธานสภานักเรียน, รองประธานสภานักเรียน ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายวิชาการ, หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์, หัวหน้าฝ่ายสารวัตรนักเรียน หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและอนามัยโรงเรียนมีครูที่ปรึกษา ๔ คน
๒๐.๒ ให้แต่ละฝ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
(๑) ประธานนักเรียนมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมของคณะกรรมการนักเรียนทั้งหมด เป็นหัวหน้างาน 4 ฝ่าย ดูแลควบคุมคณะกรรมการและให้ทำหน้าที่จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ปฏิบัติงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๒) รองประธานนักเรียน ทำหน้าที่แทนประธานนักเรียน เมื่อประธานนักเรียนไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้ รับผิดชอบช่วยเหลือประธานกรรมการนักเรียน ให้เกิดความร่วมมือที่ดีของสมาชิก และงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๓) หัวหน้าฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่รับผิดชอบ กิจกรรมที่ให้ความรู้แก่นักเรียนและร่วมจัดกิจกรรมกับทางโรงเรียนในวันสำคัญต่างๆของโรงเรียน ปฏิบัติงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๔) หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่รับผิดชอบติดต่อแจ้งข่าวสารระหว่างสภานักเรียน กับคณะครูและนักเรียน เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมของสภานักเรียน บันทึกภาพกิจกรรมต่าง ๆ ของสภานักเรียน งานเสียงตามสายประจำวัน ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมโรงเรียน ทำกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้า และงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๕) หัวหน้าฝ่ายสารวัตรนักเรียน มีหน้าที่ควบคุมดูแลนักเรียนทั้งหมดให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของโรงเรียน ตลอดจนการดูแลไม่ให้นักเรียนมีการทะเลาะวิวาทกัน ทำกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้า และปฏิบัติงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๖) หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและอนามัยโรงเรียน มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน สุขภาพอนามัยของนักเรียน ควบคุมดูแลการแปรงฟันประจำวัน การออกกำลังกาย ดูแลนักเรียนในการรับประทานอาหารกลางวัน และปฏิบัติงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๗) เหรัญญิก ให้มีหน้าที่รับผิดชอบ เหรัญญิกมีหน้าที่ในการดำเนินงานการเงินของสภานักเรียน และงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๘) ปฏิคม ให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ให้การต้อนรับแขกที่มาร่วมกิจกรรม จัดหาของขวัญหรือของที่ระลึก ดูแล จัดเตรียมห้องประชุม ทุกครั้งที่มีการประชุมของคณะกรรมการสภานักเรียนและงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๙) งานเลขานุการให้มีหน้าที่ระเบียบวาระการประชุม การเรียกประชุมสภานักเรียน โดยกำหนดระเบียบ วาระเรื่องที่ประชุม ตลอดทั้งวันเวลาและสถานที่ ส่งให้กรรมการอย่างน้อย ๗ วัน ก่อนการประชุมและการรายงานการประชุม
หมวด ๕
คณะอนุกรรมการสภานักเรียน
ข้อ ๒๑ คณะอนุกรรมการสภานักเรียนต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนชุมชนบึงบา
ข้อ ๒๒ คณะอนุกรรมการสภานักเรียนมีสิทธิเสนอความคิดเห็นหรือคำแนะนำต่อคณะกรรมการบริหารในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมและการดำเนินงานในหน้าที่สภานักเรียน
ข้อ ๒๓ คณะอนุกรรมการสภานักเรียนมีสิทธิสอบถามหรือขอทราบเรื่องใด ๆ ต่อประธานสภานักเรียนที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของสภานักเรียน
ข้อ ๒๔ คณะอนุกรรมการสภานักเรียนต้องปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่งประธานสภานักเรียน ที่ออกตามมติของสภานักเรียน
ข้อ ๒๕ คณะอนุกรรมการสภานักเรียนมีสิทธิเสนอตนเองหรือสมาชิกคนหนึ่งคนใดเข้ารับเลือกตั้งเป็นกรรมการสภานักเรียน และมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน โดยถือมติที่ประชุมเสียงข้างมาก
ข้อ ๒๖ คณะอนุกรรมการสภานักเรียนมีสิทธิเข้าประชุมสามัญประจำเดือน และแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภานักเรียน
ข้อ ๒๗ คณะอนุกรรมการพ้นสภาพของคณะอนุกรรมสภานักเรียนสิ้นสุดลงเมื่อ
(๑) ผิดระเบียบวินัยขั้นร้ายแรง
(๒) ออกตามวาระ
(๓) ย้ายโรงเรียน
(๔) พ้นจากสถานศึกษาในโรงเรียนชุมชนบึงบา
หมวด ๖
ทั่วไป
ข้อ ๒๘ ให้ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสภานักเรียนรักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ ๒๙ ให้เริ่มใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ต้นฉบับจาก
http://www.bb.ac.th/stucou/index.php?option=com_content&view=article&id=3&Itemid=2
ว่าด้วยคณะกรรมการนักเรียนและสภานักเรียน
ด้วยโรงเรียนชุมชนบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เห็นสมควรที่จะกำหนดระเบียบของโรงเรียนว่าด้วยคณะกรรมการนักเรียนและสภานักเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและโครงสร้างการบริหารของโรงเรียน และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน อย่างเป็นรูปธรรมและถูกต้อง จึงได้กำหนดระเบียบว่าด้วยคณะกรรมการนักเรียนและสภานักเรียน ไว้ดังต่อไปนี้
หมวด ๑
หมวดทั่วไป
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสภานักเรียน โรงเรียนชุมชนบึงบา พุทธศักราช ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ระเบียบฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“สภานักเรียน” หมายถึง สภานักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา ประกอบด้วยประธานนักเรียนรองประธานคณะกรรมการนักเรียนที่ได้รับเลือกตั้งจากนักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา ในปีการศึกษานั้นๆ และหัวหน้าห้องในทุกระดับชั้นซึ่งเป็นคณะกรรมการโดยตำแหน่ง
“คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการสภานักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา
“คณะกรรมการที่ปรึกษา” หมายถึง ผู้บริหารโรงเรียน คณะครูที่ได้รับการแต่งตั้ง เพื่อทำหน้าที่ที่ปรึกษาแก่คณะกรรมการสภานักเรียน
“ประธาน” หมายถึง ประธานคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา
“รองประธาน” หมายถึง รองประธานคณะกรรมการนักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา
“คณะอนุกรรมการ” หมายถึง คณะอนุกรรมการสภานักเรียนที่ได้รับเลือกตั้งจากนักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา หัวหน้าห้อง ในทุกระดับชั้น
ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ของสภานักเรียนโรงเรียนชุมชนบึงบา มีดังนี้
(๑) เพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีระเบียบวินัยในตนเอง
(๒) เพื่อฝึกลักษณะนิสัยที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคมตามวิถีประชาธิปไตย
(๓) เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีระบบ โดยรู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเอง มีความ รับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
(๔) เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียน และมีความสามัคคีต่อหมู่คณะ
(๕) เพื่อฝึกการเป็นผู้นำ และส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
(๖) เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือการบริหารงานด้านต่างๆของโรงเรียน
หมวด ๒
การเลือกตั้งประธานคณะกรรมการนักเรียน
ข้อ ๕ ให้ครูผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน เป็นผู้ดำเนินการเลือกตั้ง รับสมัคร หาเสียงเลือกตั้ง กำหนดวันเลือกตั้ง ประกาศผลการเลือกตั้ง และดำเนินการทุกเรื่องที่เกี่ยวกับคณะกรรมการนักเรียน
ข้อ ๖ คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครเป็นประธานและคณะกรรมการนักเรียน
(1) เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ – ๖
(2) มีระดับผลการเรียนไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕ (ดูจากใบปพ.๑)
(3) เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่มีประวัติการสร้างความเสื่อมเสียให้กับโรงเรียน
(4) ขยัน อดทน เสียสละ และมีภาวะผู้นำ สามารถทำงานเพื่อส่วนรวมได้
(5) รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ข้อ ๗ ประธานนักเรียนและคณะกรรมการนักเรียน มีวาระอยู่ได้คราวละ 1 ปีการศึกษา
ข้อ ๘ ประธานนักเรียนและคณะกรรมการนักเรียนพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ออกตามวาระ
(4) ไร้ความสามารถ
(5) ย้ายโรงเรียน
หมวด ๓
การประชุม
ข้อ ๙ ประธานสภานักเรียนต้องเรียกประชุมสภานักเรียนอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งเว้นแต่มีกรณีเร่งด่วน ประธานสภานักเรียนอาจเรียกประชุมมากกว่าหนึ่งครั้งก็ได้ โดยมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงถือว่าเป็นองค์ประชุม
ข้อ ๑o การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
ข้อ ๑๑ การลงมติใด ๆ ต้องได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการในที่ประชุม
ข้อ ๑๒ การลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในญัตติใดในการประชุมของสภานักเรียน ให้ผู้ประชุมมีมติโดยที่ มตินั้นต้องมีผู้รับรองเป็นจำนวน ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกในที่ประชุมครั้งนั้น
ข้อ ๑๓ ให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อ ๑๔ ให้ประธานสภานักเรียนเป็นประธานในการประชุมสภานักเรียน หากประธานไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่หรือไม่อยู่ในที่ประชุม ให้รองประธานสภาตามที่ประธานสภามอบหมายทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมแทน
ข้อ ๑๕ การออกเสียงลงคะแนนให้ใช้แบบเปิดเผยเว้นแต่สมาชิกไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกในที่ประชุมร้องขอให้ลงคะแนนแบบลับ
ข้อ ๑๖ การใช้อำนาจวินิจฉัยเรื่องใดของประธานสภานักเรียน ให้นำเรื่องนั้น เข้าไว้ในวาระการประชุม เพื่อขอมติจากที่ประชุมว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในเรื่องนั้น ๆ หากที่ประชุมไม่อาจลงมติตัดสินได้ ให้ประธานสภาเป็นผู้ชี้ขาด และการชี้ขาดนั้นถือเป็นสิ้นสุด หากเป็นกรณีเร่งด่วนให้ประธานสภาวินิจฉัยไปตามดุลพินิจของประธานสภาแล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับรองภายหลัง
หมวด ๔
บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสภานักเรียน
ข้อ ๑๗ บทบาทของสภานักเรียน
(๑) เป็นผู้นำในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อส่วนรวมตามหลักธรรมาภิบาล
(๒) ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของตนเองและเพื่อนนักเรียน โดยใช้กระบวนการประชาธิปไตย และแนวทางสันติวิธี
(๓) ชักชวนนักเรียนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
(๔) สืบสานความรู้ ภูมิปัญญา วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชาติ
(๓) เป็นผู้นำเพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนและสังคม
ข้อ ๑๘ หน้าที่ของสภานักเรียน
(๑) ดูแลทุกข์ สุข ของนักเรียน และร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียน
(๒) ประสานกับบุคลากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์และความก้าวหน้าที่นักเรียนควรได้รับ
(๓) รับผิดชอบงานและกิจกรรมต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียน
(๔) คิดริเริ่มโครงการที่เป็นประโยชน์ สามารถปฏิบัติได้จริงและส่งผลต่อการพัฒนาโรงเรียน
(๕) ดูแลสอดส่องและจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในโรงเรียนอย่างคุ้มค่า
(๖) ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทันต่อเหตุการณ์และตรงไปตรงมา
ข้อ ๑๙ บทบาทหน้าที่ของประธานนักเรียน
(1) จัดให้มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
(2) ตรวจดูการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย
(3) เสนอและสรุปรายงานข้อมูลต่างๆ ที่ได้ปฏิบัติในรอบเดือน ให้ผู้บริหาร
และคณะครูในโรงเรียน รับทราบ
(4) เป็นผู้ประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ
(5) กล่าวต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมโรงเรียน และกล่าวขอบคุณผู้ที่มีอุปการะคุณต่อ
โรงเรียน
(6) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียนและสร้างความสามัคคีให้เกิด
ขึ้นในระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน
(7) ร่วมกับคณะกรรมการสภานักนักเรียนทุกคน พิจารณาโทษ นักเรียนที่กระทำ
ผิดกฎ ระเบียบของโรงเรียน
(8) ปฏิบัติงานตามที่ผู้บริหารและครูมอบหมาย
ข้อ ๒๐ ให้มีกรรมการนักเรียนเพื่อดำเนินกิจกรรมของสภานักเรียนขึ้น ๑ ชุด
ประกอบด้วยสมาชิก
๒๐.๑ ประธานสภานักเรียน, รองประธานสภานักเรียน ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายวิชาการ, หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์, หัวหน้าฝ่ายสารวัตรนักเรียน หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและอนามัยโรงเรียนมีครูที่ปรึกษา ๔ คน
๒๐.๒ ให้แต่ละฝ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบดังนี้
(๑) ประธานนักเรียนมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมของคณะกรรมการนักเรียนทั้งหมด เป็นหัวหน้างาน 4 ฝ่าย ดูแลควบคุมคณะกรรมการและให้ทำหน้าที่จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ปฏิบัติงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๒) รองประธานนักเรียน ทำหน้าที่แทนประธานนักเรียน เมื่อประธานนักเรียนไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้ รับผิดชอบช่วยเหลือประธานกรรมการนักเรียน ให้เกิดความร่วมมือที่ดีของสมาชิก และงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๓) หัวหน้าฝ่ายวิชาการ มีหน้าที่รับผิดชอบ กิจกรรมที่ให้ความรู้แก่นักเรียนและร่วมจัดกิจกรรมกับทางโรงเรียนในวันสำคัญต่างๆของโรงเรียน ปฏิบัติงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๔) หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่รับผิดชอบติดต่อแจ้งข่าวสารระหว่างสภานักเรียน กับคณะครูและนักเรียน เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมของสภานักเรียน บันทึกภาพกิจกรรมต่าง ๆ ของสภานักเรียน งานเสียงตามสายประจำวัน ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมโรงเรียน ทำกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้า และงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๕) หัวหน้าฝ่ายสารวัตรนักเรียน มีหน้าที่ควบคุมดูแลนักเรียนทั้งหมดให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัยของโรงเรียน ตลอดจนการดูแลไม่ให้นักเรียนมีการทะเลาะวิวาทกัน ทำกิจกรรมหน้าเสาธงในตอนเช้า และปฏิบัติงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๖) หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและอนามัยโรงเรียน มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน สุขภาพอนามัยของนักเรียน ควบคุมดูแลการแปรงฟันประจำวัน การออกกำลังกาย ดูแลนักเรียนในการรับประทานอาหารกลางวัน และปฏิบัติงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๗) เหรัญญิก ให้มีหน้าที่รับผิดชอบ เหรัญญิกมีหน้าที่ในการดำเนินงานการเงินของสภานักเรียน และงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๘) ปฏิคม ให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ให้การต้อนรับแขกที่มาร่วมกิจกรรม จัดหาของขวัญหรือของที่ระลึก ดูแล จัดเตรียมห้องประชุม ทุกครั้งที่มีการประชุมของคณะกรรมการสภานักเรียนและงานอื่นตามที่ครูที่ปรึกษามอบหมาย
(๙) งานเลขานุการให้มีหน้าที่ระเบียบวาระการประชุม การเรียกประชุมสภานักเรียน โดยกำหนดระเบียบ วาระเรื่องที่ประชุม ตลอดทั้งวันเวลาและสถานที่ ส่งให้กรรมการอย่างน้อย ๗ วัน ก่อนการประชุมและการรายงานการประชุม
หมวด ๕
คณะอนุกรรมการสภานักเรียน
ข้อ ๒๑ คณะอนุกรรมการสภานักเรียนต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนชุมชนบึงบา
ข้อ ๒๒ คณะอนุกรรมการสภานักเรียนมีสิทธิเสนอความคิดเห็นหรือคำแนะนำต่อคณะกรรมการบริหารในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมและการดำเนินงานในหน้าที่สภานักเรียน
ข้อ ๒๓ คณะอนุกรรมการสภานักเรียนมีสิทธิสอบถามหรือขอทราบเรื่องใด ๆ ต่อประธานสภานักเรียนที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ของสภานักเรียน
ข้อ ๒๔ คณะอนุกรรมการสภานักเรียนต้องปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่งประธานสภานักเรียน ที่ออกตามมติของสภานักเรียน
ข้อ ๒๕ คณะอนุกรรมการสภานักเรียนมีสิทธิเสนอตนเองหรือสมาชิกคนหนึ่งคนใดเข้ารับเลือกตั้งเป็นกรรมการสภานักเรียน และมีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน โดยถือมติที่ประชุมเสียงข้างมาก
ข้อ ๒๖ คณะอนุกรรมการสภานักเรียนมีสิทธิเข้าประชุมสามัญประจำเดือน และแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมสภานักเรียน
ข้อ ๒๗ คณะอนุกรรมการพ้นสภาพของคณะอนุกรรมสภานักเรียนสิ้นสุดลงเมื่อ
(๑) ผิดระเบียบวินัยขั้นร้ายแรง
(๒) ออกตามวาระ
(๓) ย้ายโรงเรียน
(๔) พ้นจากสถานศึกษาในโรงเรียนชุมชนบึงบา
หมวด ๖
ทั่วไป
ข้อ ๒๘ ให้ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมสภานักเรียนรักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ ๒๙ ให้เริ่มใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
ต้นฉบับจาก
http://www.bb.ac.th/stucou/index.php?option=com_content&view=article&id=3&Itemid=2