ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้
เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน
100,000
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนบ้านขุมดิน
ผู้วิจัย นางมณเทียน แสงท้าว
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนบ้านขุมดิน จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้ชุดแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
3ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80/80เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน
100,000และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
3ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน
100,000
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านขุมดิน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 จำนวน 11 คน การสุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างมาใช้ในการวิจัย
ผู้วิจัยใช้การสุ่มแบบเจาะจง(Purposive Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 จำนวน 20 แผน แบบฝึกทักษะเรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 จำนวน 20 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
ตามวิธีการแบบลิเคอร์ท(Likert Scale) จำนวน 25 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าร้อยละ (Percentage)ค่าเฉลี่ย (
)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard
Deviation)และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที
(t-test) กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ผลการวิจัยพบว่า
แบบฝึกทักษะเรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน
100,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ81.69/84.24 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน100,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านขุมดิน ปีการศึกษา 2560
มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01
ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน
100,000 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านขุมดิน
ปีการศึกษา 2560มีค่าเท่ากับ 0.5398 คิดเป็นร้อยละ 53.98นักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
เรื่องการบวกและการลบจำนวนนับสองจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100,000 ภายหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ในระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ย 4.79 คิดเป็นร้อยละ 95.82
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54