ด้วยเทคโนโลยีอุปกรณ์เก็บข้อมูลก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบันนี้ จากเมื่อก่อนที่เราเคยบันทึกงานต่างๆที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์ลงในแผ่นฟลอปปี้ดิสก์ ที่เป็นแผ่นใหญ่ๆสีเหลี่ยมๆ มีหลากหลายยี่ห้อ ในสมัยของผมยังทันใช้แผ่นฟลอปปี้ดิสก์ 1.44 MB อยู่ ซึ่งสมัยนั้นเราเรียกกัน ว่าไดรท์ A ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนี้ เราก็มีสื่อเก็บข้อมูลแบบแผ่น ซึ่งเราเรียกกันว่า แผ่นซีดี ซึ่งแผ่นซีดีนี้จะต้องมีเครื่องที่ใช้ในการเขียน จึงจะสามารถเขียนข้อมูลลงในแผ่นซีดีได้ โดยจะมีความจุของแผ่นซีดีคือ 650 MB แต่การเขียนลงแผ่นนั้นจะเขียนได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถลบข้อมูลในแผ่น หรือเขียนข้อมูลใหม่ทับลงไปได้ แล้วก็มีการวิวัฒนาการมาเป็น แผ่น CD-RW ซึ่งสามารถเขียน และลบข้อมูลในแผ่นได้ เทคโนโลยีเกี่ยวกับสื่อบันทึกข้อมูลก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนมาเป็นแผ่น DVD และ DVD-RW ซึ่งมีความจุที่มากขึ้นในระดับ GB เช่น 4.5 GB 9 GB ในช่วงระยะเวลาระหว่างนี้แผ่นดิสก์ 1.44 MB เริ่มหายไป จากเดิมที่เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่จะต้องมีติดเครื่องมาก็เริ่มหายไป กลายเป็น CD หรือ DVD combo แทน
จนกระทั่งต่อมามีการพัฒนาระบบเก็บข้อมูลแบบแฟลช ซึ่งเราเรียกกันว่า แฟลชไดรท์ หรือแฮนดี้ไดรท์ ถือว่าเป็นความฮือฮามากสุด ทุกคนที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ ก็จะต้องมี แฟลชไดรท์หรือแฮนดี้ไดรท์ ห้อยคอไว้ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแฟชั่นกันเลยก็ว่าได้
แฟลชไดรท์ในสมัยแรกเริ่มที่เคยได้ใช้คือ ที่มีความจุ 32 MB จนมาถึงตอนนี้แฟลชไดรท์ได้มีความจุที่มากเป็นระดับ GB จนพัฒนามาเป็นสื่อเก็บข้อมูลความเร็วสูงที่เข้ามาแทนที่ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนไปแล้ว ซึ่งเรารู้จักกันว่า SSD ถ้าจะว่ากันแล้วสื่อเก็บข้อมูลแบบแฟลชนี้มีความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูลที่รวดเร็วกว่าสื่ออื่นๆเป็นอย่างมากเรียกได้ว่า ถ้าได้ใช้งานนี่ลืมแผ่นดิสก์กับแผ่นซีดีกันได้เลย
แต่ในปัจจุบันนี้สื่อเก็บข้อมูลที่เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น คือสื่อเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ ซึ่งมีแถมมาให้กับอีเมล์หลากหลายค่าย ไม่ว่าจะเป็น GMAIL ซึ่งมีมาให้ที่ 15 GB และ Outlook ซึ่งก็มีที่เก็บข้อมูลแบบคลาวด์มาให้ด้วย 5 GB คาดว่าต่อไปในภายภาคหน้าสื่อเก็บข้อมูลแบบแฟลช และแบบซีดี ก็จะถูกลืมเลือนและก็หายไป
ในบทความนี้ที่เขียนมาซะยืดยาวก็เพียงเพื่อให้ได้ระลึกความหลังของแอดมินผู้เขียนเอง แต่ปัญหาของเราในที่นี้ก็คือว่า ทางโรงเรียนได้ทำการสั่งซื้อหนังสือเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่มีแผ่นซีดีมาด้วย แต่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการฉายเป็นสือให้นักเรียนดูกลับไม่มีที่อ่านแผ่นซีดี ปัญหาก็ตามมา
เมื่อก่อนทางสำนักพิมพ์ผู้ทำหนังสือเรียนนี้ Project play and learn ของสำนักพิมพ์ สกสค. ได้มีการจักทำเวปไซต์ซึ่งไม่ต้องใช้แผ่นซีดี สามารถเปิดดูจากเวปได้เลย แต่เวลาผ่านไป ทาง google ไม่ได้ซัพพอร์ทโปรแกรมแฟลชเพลเยอร์ในบราวเซอร์แล้ว ทำให้ไม่สามารถเปิดดูได้ และทางเวปก็ได้ปิดตัวลงไปด้วย ทำให้ไม่สามารถใช้สื่อแบบออนไลน์ได้ จึงต้องใช้สื่อจากแผ่นซีดีทีอยู่ในหนังสือแทน ปัญหาจึงเกิดเพราะว่าไม่ที่เปิดแผ่น จึงได้ใช้วิธีการแก้ปัญหาโดยการสร้าง CD ISO โดยต้องพึ่งพาเครื่องที่มีไดรท์ซีดีเป็นตัวสร้าง
มีวิธีและขั้นตอนดังนี้ (ขั้นตอนการสร้าง ISO ต้องใช้ในเครื่องที่มีไดรท์ซีดี)
1. ดาวน์โหลดโปรแกรมที่ใช้ในการจำลองซีดีไดรท์ ตามลิงค์ : https://wincdemu.sysprogs.org/download/
2. ทำการติดตั้งตามขั้นตอน เพียงแค่กดติดตั้ง (Install)
จะมีเมนูทางเลือกให้เราเลือก โดยเลือกที่ Create an ISO image
4.โปรแกรมจะขึ้นมาให้เราตั้งชื่อไฟล์ ให้เราเลือกไดรท์ที่จะใช้สำหรับเก็บไฟล์ ISO แล้วจากนั้นก็ทำการกดบันทึก (Save)
1.คลิกขวาที่ไฟล์ ISO ของเรา แล้วเลือกที่โปรแกรม WinCDEmu ตามรูป
ถ้าท่านที่ลองทำตามแล้ว ได้หรือไม่ได้อย่างไรโพสต์สอบถามได้นะครับ ขอบคุณสำหรับการติดตามอ่านครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น